ของเก่าเราไม่ลืม

ลำคู ลำคลอง
                เอาเป็นว่าตั้งแต่ พ..๒๔๘0 ถอยหลังขึ้นไปแล้วกันนะครับ ”บางลำพู” เป็นแหล่งที่รู้จักกันทั่วทิศ ย่านจับจ่ายซื้อหาเครื่องนุ่งห่มของใช้ไม้สอย ไปจนกระทั่งปืนและเครื่องกระสุน มีวิกลิเก วิกภาพยนตร์ (เงียบ) มีตลาดใหญ่ สนนราคาสินค้าบางลำพูย่อมเยเข้ากระเป๋าชาวพารา จะไปแห่งอื่นอย่างเยาวราชพาหุรัด เจริญกรุงนั่นอีกเรื่องหนึ่ง
                ยุคที่ว่านี่แหละมีกระทาชายนายหนึ่ง ผิวค่อนไปทางดำ คิ้วเขียว ขอบซ้ายคว้าเป็นมันเขม้นมุ่งมะเมียงมอง ไฝและหนวดดั่งลวดทองทะลุมุมะไม่คิดใคร อย่างกับเจตบุตรพรานป่าในเวสสันดรชาดกแน่ะ ตะแกนุ่งโสร่งหยักรั้งเปลือยท่อนบน ถือตะพดเดินวนเวียนอยู่ในละแวกบางลำพูสแควร์นี่แหละ จะว่าเป็นยาจกหรือวณิพกก็ไม่เข้าข่ายสักอย่าง แกไม่เคยขอ เมื่อมีคนให้สตางค์ก็จะไม่รับมั่งไม่รับมั่ง โดยมากไม่รับ ซ้ำหยุดจ้องหน้าซะอีกลักษณะพิเศษประจำตัวคือ เดินบ่นร่ายดังๆ ไปตลอดทางเท้าก้านดำก้านแดง น้ำร้อนน้ำชา เรื่องยนต์เครื่องกล รถไฟรถฟืน รถรางเหลืองแดง กัญชงกัญชา-อีกยาวครับ   ผู้คนพ่อค้าแม่ขายที่อยู่ฝั่งธนบุรีหรือริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือไปมาเข้าออกคลองบางลำพูสบายมาก ปากคลองอยู่วัดสังเวชฯ ถนนพระอินทร์ ที่บางลำพูนอกจากท่าตลาดปกติแล้ว ยังมีท่าสำคัญมากออีกแห่งหนึ่งคือท่าน้ำวัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และ รัชกาลที่๕ เคยเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคขึ้นถวายผ้าพระกฐินวัดบวรฯ ที่ท่านี้เดี๋ยวนี้กลายเป็นซอกขายข้าวต้มไปแล้ว
ท่ารถ ท่าเรือ
                ช่องทางจากบนบกจะลงน้ำ จากน้ำขึ้นบก ก็เรียกกันว่า “ท่า” “ท่าน้ำ” “ท่าเรือ” ที่สาวนุ่งกระโจมอกลงไปขัดสีฉวีวรรณว็อบแว็บ และได้ยินเรียกกันอีกคำว่า “ตีนท่า” ก็ท่าน้ำหน้าบ้านหลังบ้านธรรมดานี่แหละ แต่ทำไมต้องตีนด้วย คงจะมีการล้างเท้าก่อนขึ้นลงเรือหรือก่อนขึ้นบ้าน สมัยเรือเขียวไทย เรือแดงฝรั่ง มีท่ารับส่งผู้โดยสารดังอยู่หลายท่า ท่าเตียนใหญ่ที่สุด ท่าถนนตก ท่าเขียวไข่กา มีเรียกเต็มยศอยู่ท่านึงคือ ท่าน้ำราชวงศ์ ทำไมต้องเติมน้ำลงท้ายด้วย ชื่อถนนเขียวไข่กาเหมือนกันสั้นนิดเดียว เพียงแค่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับถนนสามเสนท่อนที่ต่อไปถนนอำนวยสงครามเป็นท่าเรือด้านเหนือสุดของกรุงเทพฯ ที่จะไปหรือมาจากต่างจังหวัดขึ้นจากท่าเรือนี้สบายมากรถรางสามเสนมาตันอยู่ด้านนี้ ห่างศาลาพักผู้โดยสารแค่เดินห้าก้าวตั๋วเรือตั๋วรถใช้โดยสารต่อกันได้ มีแท็กซี่รออยู่ พ.ศ ๒๔๗0 – ๒๔๗๑ ใช้รถออสติน ๕ แรงม้า รับผู้โดยสารได้สามคน ค่าโดยสารเพียงแค่คนละ ๒บาท
เรือข้าว
                เรือข้าวนั้นจะมารวมกันอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง หลังจากรับข้าวเปลือกเต็มระวางจากฉางหรือเก็บจากรายย่อย เพื่อคอนเรือไฟเจ้าจำนำหรือเรือบริษัทหรือเรือโรงสี เรือข้าวรู้ระหว่างกันว่าจะจัดลำดับเข้าพวงก่อนหลังอย่างไร ลำไหนจะปลดไปที่ตำบลใด เรือข้าวลำหนึ่งก็ ๔0-0 ตัน ในระวางบรรทุกใช้ชีวิตล่องลอยไปตามสายน้ำ ไม่ได้ขึ้นบกขึ้นบ้านเป็นเดือน เค้าไปทุกแห่งที่มีน้ำให้เรือลอย ส่วยใหญ่จะมีขาประจำรู้ตำบลรับส่งข้าวเปลือก แต่กว่าจะเต็มลำกลับมารวมหมู่ข้างต้นก็ใช้เวลาไม่น้อย งานมีตลอดปี หมอข้าวเปลือกก็รับข้าวสารไปขึ้นโกดังหรือส่งลงเรือใหญ่ไปต่างระเทศ เรือบรรทุกข้าวสยามมีลักษณะเป็นเรือต่อด้วยไม้ที่รูปแบบรับน้ำหนักที่สมบูรณ์ ทรหดบึกบึนดูเหมือนอุ้ยอ้าย แต่ท้องเรือเป็นแบบไม่ต้านน้ำและติดเลนง่าย สามารถเคลื่อนที่ในร่องน้ำแคบได้ดีจะเห็นเรือข้าวบรรทุกเต็มระวาง ถ่อเคลื่อนที่ไปได้ง่ายๆ ในลำคลองแคบ จะว่าเป็นรูปเปลือกมะพร้าวเปลือกแตงโมอะไรก็ตาม มีหรือไม่มีหลังคาประกอบ เรือข้าวก็คงทรงส่วนสัดงามไม่ขัดนัยน์ตา เสียดายว่าในอนาคตไม่ไกลนักเรือข้าวแบบนี้ของเราคงสูญพันธ์ ไม้จะหมอป่าแล้ว เมื่อรูปแบบดีเอื้อประโยชน์ใช้สอยดียังว่า ก็น่าที่จะถ่ายแบบมาใช้วัสดุอื่นสร้างแทนไม้ อย่างที่กรมประมงสร้างเรือประมงขนาดใหญ่ด้วยกรมวิธี “เฟอร์โรซีเมนต์” การบำรุงรักษาก็ง่ายและถูกกว่าเรือไม้อีกด้วย
เรือที่รอขนถ่ายจะลงหลักผูกเรืออยู่ห่างตลิ่ง ใช้ไม้ทอดเป็นสะพานสำหรับขึ้นลง ไม่จำเป็นไม่ทอด ชาวเรือเค้าว่าเพื่อป้องกันหนูจะลงเรือไปกัดข้าวของเสียหาย ลงไปแล้วกำจัดยาก ซอกมุมมันเยอะเลย สำคัญที่สุดก็ยุ้งเชือก ข้อเสียของชีวิตเรือข้าวมีอยู่เหมือนกัน  ความที่ต้องเร่ร่อนรับส่งข้าว ถ้ามีลูกหลานเล็กๆ เด็กพวกนี้อาจจะไม่ได้เข้าโรงเรียน นอกจากผู้ที่มาบ้านช่องเป็นหลักแหล่งมีญาติพี่น้องอยู่บนบก ยังงี้ไม่เป็นไร แต่ก็มีอยู่เป็นจำนวนมากที่เดียวเลยที่ขาดการศึกษา น่าเป็นห่วง
เรือโยง
                ยุคของเรือลากจูงที่ใช้เครื่องยนต์ไอน้ำ เชื้อเพลิงฟืนพ้นไปแล้วเมื่อ ๒0 กว่าปีมานี้ เฉาตายสนิท เครื่องยนต์ดีเซลรอบต่อรอบจัดเข้ามาแทนที่ เรือโยงจะยังคงอยู่ตราบเท่าที่มีแม่น้ำ แต่ไม่ใช่เรือโยงลำนั้นที่ชาวบ้านเคยเรียกว่า “เรือไฟ” หรือ “เรือไอ” เจ้ายุทธจักรลากจูงสมัยโน้น สมัยที่ยังเห็นวามสำคัญของแม่น้ำ ใช้แม่น้ำเป็นส้นทางขนส่งหลัก  น้ำไม่เน่าชาวเรืออาศัยดื่มกิน ได้ตั้งแต่ปากน้ำยันเชียงใหม่ แม่น้ำไหนก็เหมือนกันทั้งนั้น
                เรือไฟ เรือไอ เรือโยง พระเอกลำน้ำนี่น่ะหุ่นเท่เก๋อย่าบอกใครเชียว รูปทรงได้สัดส่วนสมบูรณ์ไม่ว่าเรือเล็กเรือใหญ่ ดูไม่ขัดตาไม่ขัดความรู้สึก  สง่าขรึม บึกบึน เรียบง่าย ไม่เทอะทะรุงรัง ปะโน่นเติมนี่ เป็นรูปแบบเฉพาะของเรือโยงสยามแห่งเดียว เรือไฟลำหนึ่งมีคนประจำอย่างน้อยสี่คน นายท้ายที่ถือท้ายอยู่ทางหัวเรือหนึ่งละ ช่างเครื่องภาษาชาวเรือเรียกว่าอินทเนียอีกหนึ่ง ช่างไฟ อย่าเอาไปสับสนกับช่างไฟฟ้าสมัยนี้นะครับ ความจริงเรียกว่าช่างฟืนก็ยังได้ เพราะแกต้อคอยโกยฟืนเข้าเตา ลูกเรืออีกหนึ่งคนนี้สำคัญ มีหน้าที่รับผิดชอบหัวใจเรือโยงคือ เชือก ไม่มีเชือกก็ไม่ต้องหากิน สำคัญที่สุดคือตุนเหล้าให้พอสำหรับลูกพี่ เรื่องนี้บกพร่องไม่ได้ เรือเข้ารับเชื้อเพลิงแต่ละครั้งใช้เวลาเป็นชั่วโมงปั๊มฟืนนี่แย่หน่อย เด็กปั๊มต้องโยนเชื้อเพลิงเป็นท่อนๆ จากตลิ่งคนเรือรับส่งต่อกันเอาเข้าจัดอัดแน่นในยุ้งฟืนสองข้างหม้อน้ำงานนี้ต้องช่วยกันทุกมือทั้งลำเรือ
                เรือโยงรับจ้างลากจูงทั่วไปที่เป็นของส่วนบุคคลที่มีบ้านละลำสองลำก็มาก ที่มีเรือมากที่สุดก็บ้าน “ขุนด่ำ” บางพลัด ไม่รู้กี่สิบลำ สัญลักษณ์ปล่องทาสีขาวคาดน้ำเงินมีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวกับดาว นอกจากนั้นก็มีเรือโยงของโรงสีข้าว โรงเลื่อยจักร บริษัทป่าไม้ ใช้ในส่วนงานของเขาเท่านั้น ถ้าจะรับจ้างอย่างเรือของอีสต์เอเชียติก ที่รับอยู่เฉพาะในกลุ่มบริษัทฝรั่งไม่อยากยุ่งกับลานเทมั้ง เรือลำไหนของใครดูรู้กันที่ส่วนบนของปล่องที่คาดสีต่างๆ หรืออักษรย่อ หรือเครื่องหมายของเจ้าของ เรือราชกาลใช้ปล่องสีเหลืองล้วน เรือโยงใช้เครื่องไอน้ำไม่มีเสียงดัง ไม่มีอาการสั่นสะเทือน
เรือเมล์
                ท่าขึ้นลงในแม่น้ำเจ้าพระยามีสองแห่ง ท่าน้ำราชวงศ์กับท่าอีสต์เอเชียติกถนนตก หรือท่าวัดพระยาไกร ที่ท่าราชวงศ์ เรือทอดสมออยู่กลางน้ำ ผู้โดยสารและสัมภาระต้องลงเรือจ้างแจวไปลงเรือใหญ่ ก็มีทางเดียวนี่และครับ ผู้โดยสารระดับสำคัญพิเศษนั้น ทางบริษัทจะอำนวยความสะดวกโดยจัดเรือยนต์บริการตามกรณี คนยุคนี้ลืมกันจนนึกภาพไม่ออกแล้วมั่ง รถรางสายที่ปลายทางที่ท่าน้ำเรียกว่า “รถรางสายราชวงศ์” เป็นสายสั้นๆ เดินระหว่างสามแยกถนนเสือป่าที่เชื่อมถนนบำรุงเมืองมาตัดถนนเจริญกรุง ตัดเยาวราช ถึงท่าน้ำราชวงศ์ ค่าโดยสารตลอดสายแค่ ๑ สตางค์แดงเดียว จุดตัดที่สี่แยกเจริญกรุง มีรถรางสายการเมือง-บางคอแหลม (ถนนตก) ที่เยาวราชมีสายบางกระบือ-ศาลาแดง สายนี้หยุดกิจการเมื่อราว พ.๒๔๗๗ เปลี่ยนเป็นเดินรถโดยสารประจำทาง



อ้างอิง : หนังสือ ของเก่า เรา (ไม่) ลืม.—กรุงเทพฯ : สารคดี, ผู้เขียน สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ . ผู้เฒ่า), พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ , ๒๒๔ หน้า , สำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น