ของเก่าเราไม่ลืม (ต่อ)

เรือเขียว เรือแดง
                สมัยก่อนโน้นโดยสาร เรือพอขึ้นบกก็ใช้ตั๋วเรือขึ้นรถรางต่อได้สะดวกดีนะครับ อย่างเรือสีแดง เอ็ม.เอ็ม.บีบริษัทแม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต ใช้ตั๋วโดยสารต่อรถรางได้ที่ท่าเขียวไข่กา บางกระบือ ปลายถนนข้างโรงเรียนราชินีบนนั่นน่ะครับ หรือที่ท่าเตียน หรือที่ท่าบางคอแหลมถนนตก บริษัทนี้ใช้เรือจุผู้โดยสาร ๔๕ คน รับส่งระยะสั้นตามจุดสองฝรั่งเจ้าพระยา ช่วงตลาดขวัญ นนทบุรี ถึงปากพระประแดง มีเรือมากลำขึ้นล่องถี่เฉลี่ยเข้าเทียบท่าทุกครึ่งชั่วโมง กับมีระยะทางยาวหน่อยวันละสี่เที่ยว ไปถึงสามโคก ปทุมธานี อีกบริษัทสีแดงเข้มเหมือนกัน สยามสตีมเบ็คเกตต์มีเรือน้อยลำกว่าเส้นทางสั้นกว่า เข้าเทียบคนละท่ากัน ท่าเรือแดงมีศาลาพักผู้โดยสารไม่ใหญ่นักอยู่บนตลิ่ง มีสะพานเชื่อมโป๊ะเทียบเรือ ที่พักผู้โดยมีห้องขายตั๋ว การขนส่งคมนาคมทางน้ำเป็นหลักใหญ่ ค่าใช้จ่ายต่ำ แม่น้ำยังกว้าง ร่องน้ำยังลึก น้ำใสสะอาด จะขาดๆ เกินๆ อะไรไปมั่งน้ำไม่ค่อยไหล ไฟไม่สว่างทางไม่ดี สามล้อยังไม่มีขี่แต่กระหรี่มีขาย ก็ได้อาศัยเรือนี่แหละ
                เรือเขียว บริษัทนี้ใช้ชื่อจากวรรณคดีไทยเรื่องไกรทอง มีพระอภัยมณีปนอยู่บ้าง ชาวบ้านเรียกว่า เรือหลวงมิลินท์ หรือเรือเขียวหลวงมิลินท์ เป็นของคุณหลวงมิลินทวนิชเสรี คหบดีนักธุรกิจชื่อก้อง คฤหาสน์บ้านช่องอยู่ฝั่งธนฯ เรือเขียวเดินควบอยู่กับเรือแดงสยามมอเตอร์โบ๊ต สายบ้านแพน สายนครสวรรค์ ปากน้ำโพเหมือนกัน ออกเกือบพร้อมหรือพร้อมกันทุกเที่ยว วิ่งไล่หน้าไล่หลังกันไป บริษัทหลวงมิลินท์มีเรือไม่น้อย เป็นเรือชั้นนิล ชั้นแก้ว แต่ไม่มีชั้นเคลวิน ไดผู้โดยสารเต็ม ได้สินค้าลงเต็มระวางเรือเขียวเรือแดง
                ทั้งสองฝ่ายถึงท่าเรือปลายทาง ไม่ว่าสิงค์บุรี ชัยนาท  ปากน้ำโพ หรือที่ไหนก็ต้องจอดค้างคืนเรื่องมันก็อย่างว่า ต้องออกกำลังล่อกบาลกนมั่ง นักเลงทั้งคู่ นี่เป็นนิสัยนักเลงท้องน้ำยุคเก่าเค้า
เรือเหลือง เรือขาว
                ชื่อเมืองสมัย พ.. ๒๔๓๒ มาถึงสมัยนี้มีเปลี่ยนแปลงไปบ้างหายไปบ้างแต่ก็รับรู้ว่ากรมไปรษณีย์โทรเลขสยามเป็นผู้เริ่มการขนส่งทางน้ำอย่างเป็นระบบ แต่เห็นที่ดังในยุคต่อมาเห็นมีแต่เรือเขียว เรือแดง เรือขาวก็มีเป็นบริษัทนายเลิศที่เดินรถเมล์ขาวนั่นแหละท่าเรือต้นทางอยู่ที่ประตูน้ำ สะพานเฉลิโลก ๕๕ ตรงนั้นมีอู่รถเมล์ขาวและตลาดนายเลิศรวมอยู่ด้วย เรือเมล์สายนี้เดินในคลองแสนแสบ ไปคลองประเวศบุรีรมย์ ไปหนองจอกมีนบุรี สายนี้ไม่มีใครเข้ามาแข่งขัน เรือขาวอีกบริษัทหนึ่ง รับส่งผู้โดยสารทั้งในคลองและแม่น้ำ ชื่อ “บริษัททางหลวง” ดำเนินกิจการโดยพระยาภิรมย์ภักดี มีเรือเดินระหว่างตลาดพลูกับท่าราชวงศ์ตั้งแต่ต้นปี พ.๒๔๕๓ และเปิดเดินจากท่าพระจันทร์เข้าคลองบางกอกน้อย คลองบงกอกใหญ่ และไปนนทบุรี บริษัทเรือขาวบางหลวงดำเนินกิจการเป็นปึกแผ่นตลอดมา เดินเรือแบบไม่มีคู่แข่งขันก็ไม่สนุก คนเรือหาคู่ตีกบาลไม่ได้ ต่อมาเรืออั้งยี่เลิก เรืออิทธิพลเลิก ตานี้มาใหม่เป็นเรือ “เรือเหลือง” ใช้วิทีอันธพาลประกอบธุรกิจเหมือนกัน ทำไปทำมาท่าไหนไม่รู้ไปขวางให้เรือขาวชนเอียงกระเท่เร่เกือบโชว์กระดูกงู คดีถึงฝ่ายเรือเหลืองแพ้ความ ลงท้ายต้องเลิกกิจการ  นอกจากกิจการดีแล้ว เรือขาวมีข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่ง คือใช้ตั๋วต่อกับรถรางได้
เรือเดินทะเล
                ทางฝั่งทะเลตะวันตก ตลอดหัวเมืองชายฝั่งทะเลที่เป็นเมืองสำคัญ คือ สมุทรปราการ เพชรบุรี ปราณบุรี กำเนิดนพคุณ ชุมพร หลังสวน ไชยา กาญจนดิษฐ์  นครศรีธรรมราช แลสงขลา รวม ๑0 หัวเมือง เดือนละ ๒ เที่ยว ทางฝั่งทะเลตะวันออก คือ เกาะสีชัง ชลบุรี อ่างศิลา ระยอง จันทบุรี กราดบุรี แลประจันตคีรีเขต รวม ๗ หัวเมือง เดือนละ ๒ เที่ยว แต่สมุทรปราการ แลเกาะสีชังนั้นจะมีเรือเดินเข้าออกลำหนึ่งต่างหาก เว้นวันเดินวัน
                ทุกแห่งที่เรือแวะรับส่งสินค้าและผู้โดยสารมักจะไม่มีท่าเทียบ เรือทิ้งสมอจอดห่างฝั่งมากน้อยตามแต่ระดับตื้นลึกของน้ำ ต้องใช้เรือเกออกไปขนถ่ายอีกทอดหนึ่ง โดยมีสำนักงานของบริษัทหรือตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการ หัวหินแห่งเดียวมี่ทั้งสองอย่าง บริษัทยอมให้เรือเข้ารับส่งเป็นพิเศษ ต่อมารถไฟสะดวกกว่ามากก็เลิกไป ท่าขึ้นลงในแม่น้ำเจ้าพระยามรสองแห่ง คือ ท่าราชวงศ์ กับท่าอีสต์เอเชียติกที่วัดพระยาไกร
ท่าราชวงศ์เรือทอดสมออยู่กางแม่น้ำ จะข้ามไปลงเรือยังไงก็ได้ตามสะดวก เรือจ้าง เรือแจว เรือยนต์กลไฟ ส่วนที่วัดพระยาไกรเป็นท่าเรือที่จอดเทียบท่าได้ สำหรับขนส่งผู้โดยสารไม่สะดวกแน่เพราะท่านี้ชุลมุนวุ่นวายเหลือกำลัง ซ้ำอยู่ไกลถึงถนนตกนู่นแหนะ ปัจจุบันการเดนทางไปหัวหินเริ่มหันเดินมาหาเรือกันใหม่ และมีเครื่องบ่งชี้ว่าจะสะดวกกว่าทางบกมากด้วย

อ้างอิง :  ผู้เขียน สรศัลย์ แพ่งสภา (ฒ . ผู้เฒ่า), หนังสือ ของเก่า เรา (ไม่) ลืม.—กรุงเทพฯ สารคดี,), พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ , ๒๒๔ หน้า , สำนักพิมพ์สารคดี (ในนามบริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด)

ที่มาวีดีโอ : http://www.youtube.com/watch?v=XjEPVNLnNqY
ที่มารูป : https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&docid=uX6isJXdNby6rM&tbnid=vqsBSAPbSJn1oM:&ved=0CAUQjRw&url=http%3A%2F%2Ftatui.prohosts.org%2Fc%2Fc1.php&ei=31vwUsqvCautiQe1pYGoCg&bvm=bv.60444564,d.aGc&psig=AFQjCNHjFTAXlwLfuRUpj7O8lt8gpe8DMg&ust=1391570255950006
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น